Newspaper / Policy Brief

ความท้าทายที่ไม่ควรมองข้ามของเศรษฐกิจไทยในยุคหลังโควิด

ความท้าทายที่สำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทยที่มีมาตั้งแต่ก่อนวิกฤต COVID-19 คือ การกระตุ้นให้เศรษฐกิจขยายตัวสูงขึ้นจากที่เป็นอยู่ประมาณ3% ต่อปี (ค่าเฉลี่ยระหว่าง พ.ศ. 2549-62) ที่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง ( 7-8%)

การเติบโตที่ช้าลงสร้างความกังวลว่าไทยจะไม่สามารถยกระดับไปเป็นประเทศพัฒนาได้ แต่ติดกับดักรายได้ และเป็นเหตุให้ไทยต้องปรับยุทธศาสตร์ที่มีเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น ทั้งอุตสาหกรรมเป้าหมาย ( เช่น 5 S-curve และ 5 New S-curve) กิจกรรมเป้าหมาย (การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม) และพื้นที่เป้าหมาย (โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC) วิกฤต COVID-19 


Policy Brief: เจาะลึกการเปิดเสรี “RCEP”
ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

ศุทธินี หวานฉ่ำ และ ธัญชนก โรจน์ขจรเกียรติ จัดทำบทวิเคราะห์ถึงการเปิดเสรีตามกรอบของข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (The Regional Comprehensive Economic Prtnership: RCEP) ซึ่งครอบคลุมอาเซียน 10 ประเทศร่วมกับ จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

บทวิเคราะห์ฉบับนี้ชี้ว่าเมื่อพิจารณาผลกระทบต่อการค้าจากข้อตกลง FTA ที่ไทยเคยลงนามก่อนหน้านี้แล้ว พบว่าข้อตกลง RCEP น่าจะมีผลกระทบต่อการค้าในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในระยะสั้นที่จำกัด โดยเกิดขึ้นเฉพาะบางชิ้นส่วนยานยนต์เท่านั้น ในขณะที่ในระยะปานกลางหรือในอีก 10 ปีที่รายการสินค้ายานยนต์ส่วนใหญ่ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าเท่ากับศูนย์ ประกอบกับขอบเขตของสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุม 15 ประเทศ อาจส่งผลให้การเปิดเสรีตามความตกลง RCEP ล้ำหน้า FTA ฉบับอื่นๆ


Policy Brief: ผลกระทบต่อ EVFTA ต่อไทย

พันกร อินทนันชัย และ ริยนา เอมศิริธนะนันต์ จัดทำบทวิเคราะห์ว่าด้วยผลกระทบของข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (The EU-Vietnam Free Trade Agreement: EVFTA) ซึ่งบังคับใช้ไปเมื่อปี 2563 ต่อการส่งออกของเวียดนามโดยเปรียบเทียบกับไทย โดยใช้อัตราการขยายตัวการส่งออกรายเดือนเป็นตัวชี้วัด กล่าวคือหากเวียดนามมีอัตราการขยายตัวการส่งออกดีกว่าไทย อาจหมายถึงประสิทธิภาพของ EVFTA ที่กระตุ้นการส่งออกของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรป

จากการศึกษาพบว่า EVFTA ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการกำหนดความสามารถในการส่งออกที่เหนือกว่าหรือด้อยกว่าระหว่างไทยกับเวียดนาม ทั้งนี้ EVFTA มีส่วนช่วยให้สินค้าของเวียดนามได้เปรียบไทยในบางกลุ่มเท่านั้น


Asian Economic Panel 2022

รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ เข้าร่วมการประชุม Asian Economic Panel ระหว่างวันที่ 26 – 27 ตุลาคม 2565 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้


นักวิชาการขานรับขยับดอกเบี้ย 0.25%
ฟังมุมมอง รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์

รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ ให้ความเห็นต่อกรณีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 0.25% (จาก 0.75% เป็น 1%) ในกรุงเทพธุรกิจ BIZ Insight เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565


รายงานพิเศษ : อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
แลโลก-มองไทยกับ 3 ตัวแปร

สำนักข่าวแนวหน้าจัดทำรายงานพิเศษ สรุปประเด็นการบรรยายในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในท่ามกลางและอนาคตหลัง Covid-19” บรรยายโดย ผศ.ดร.อลงกรณ์ ธนศรีธัญญากุล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2565 ของคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. (EconTU Symposium) ครั้งที่ 44 ภายใต้หัวข้อ “ความท้าทายของการยกระดับ S-Curve ในยุค Next Normal”


‘อาหารแห่งอนาคต’โอกาสไทย

สำนักข่าวแนวหน้าเผยแพร่บทความสรุปประเด็นการบรรยายในหัวข้อ “การส่งออกอาหารแปรรูปของไทยกับแนวทางส่งเสริมการลงทุนจากทางภาครัฐ” บรรยายโดย อ.ดร.วานิสสา เสือนิล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2565 ของคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. (EconTU Symposium) ครั้งที่ 44 ภายใต้หัวข้อ “ความท้าทายของการยกระดับ S-Curve ในยุค Next Normal”


ยกระดับอุตสาหกรรม‘ยา-เครื่องมือแพทย์’
บทเรียนจากโควิด..สู่ปัจจัยท้าทายในอนาคต

สำนักข่าวแนวหน้าจัดทำสกู๊ปสรุปประเด็นการบรรยายในหัวข้อ “ความท้าทายของอุตสาหกรรมยาในประเทศไทยหลังวิกฤต COVID-19” และ “อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG” ซึ่งบรรยายโดย อ.ลอยลม ประเสริฐศรี และ ผศ.ดร.พนิต วัฒนกูล ตามลำดับ ซึ่งการบรรยายทั้งสองหัวข้อเป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2565 ของคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. (EconTU Symposium) ครั้งที่ 44 ภายใต้หัวข้อ “ความท้าทายของการยกระดับ S-Curve ในยุค Next Normal”


สกู๊ปแนวหน้า : ‘ส่งออกแผ่ว..ท่องเที่ยวพุ่ง’
9 เดือนแรกเศรษฐกิจไทยปี’65

สำนักข่าวแนวหน้าจัดทำสกู๊ปสรุปประเด็นการเสวนาในหัวข้อ  “9 เดือนผ่านไป เศรษฐกิจไทยไหวหรือเปล่า?” ร่วมเสวนาโดย รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ กลุ่มคลัสเตอร์ความสามารถในการแข่งขัน, เบญจรงค์ สุวรรณคีรี รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และ คงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ งานเสวนาดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2565 ของคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. (EconTU Symposium) ครั้งที่ 44 ภายใต้หัวข้อ “ความท้าทายของการยกระดับ S-Curve ในยุค Next Normal”


สกู๊ปแนวหน้า : มองโลกแล้วเหลียวดูไทย ‘EV’นโยบายอย่างไรเหมาะ?

สำนักข่าวแนวหน้าจัดทำสกู๊ปสรุปประเด็นการบรรยายในหัวข้อ “อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี” โดย รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2565 ของคณะเศรษฐศาสตร์ มธ. (EconTU Symposium) ครั้งที่ 44 ภายใต้หัวข้อ “ความท้าทายของการยกระดับ S-Curve ในยุค Next Normal”


เศรษฐศาสตร์ มธ. ถอดบทเรียนการพัฒนาอุตสาหกรรม
ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในยุค COVID-19

เว็บไซต์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เผยแพร่รายละเอียดการนำเสนอผลการศึกษาพลวัตการพัฒนาอุตสาหกรรม ในงานสัมมนาวิชาการ EconTU Symposium ครั้งที่ 44 ภายใต้หัวข้อ “ความท้าทายของการยกระดับ S-Curve ในยุค Next Normal” นำเสนอผลการศึกษาถึงพลวัตการพัฒนาอุตสาหกรรม 5 กลุ่ม โดยคณาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย และอุตสาหกรรมยา


ถอดมุมมองนโยบายพัฒนา 3 คลัสเตอร์อุตสาหกรรม

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2565 EconTU Symposium ครั้งที่ 44 ภายใต้หัวข้อ “ความท้าทายของการยกระดับ S-Curve ในยุค Next Normal” เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 2565 นำเสนอประเด็นความท้าทายในการยกระดับอุตสาหกรรม S-Curve ที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเข้มข้น รวมถึงวิเคราะห์นโยบายและความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกท่ามกลางบริบทโรคระบาดโควิด-19 ใน 3 กลุ่มคลัสเตอร์ ได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอาหารแปรรูป

Russia war on Ukraine threatens Southeast Asia’s economic recovery

Associate Professor. Juthathip Jongwanich wrote an article about the effect of Russia war on Ukraine to Southeast Asia’s economic recovery. This article has been published in eastasiaforum on 21st April 2022. Some parts of the article are following.

Commodity prices are expected to remain high amid economic sanctions imposed on Russia and slow progress regarding a ceasefire in Ukraine. With consumer demand still recovering from COVID and prolonged rises in commodity prices, fears of ‘stagflation’ in the region have been revived. While the pandemic has halted efforts to reduce poverty and increased inequality, further deterioration in purchasing power among low and middle-income citizens raises concerns about achieving a smooth and sustained recovery in the region.

Is Thailand ready for the digital economy?

Associate Professor. Juthathip Jongwanich wrote an article about the digital economy in Thailand. This article has been published in eastasiaforum on 17th March 2022. Some parts of the article are following.

While Thailand has made significant progress in digital development, low and highly concentrated private investment, lack of advanced information and communications technology (ICT) skills, slow progress in digital infrastructure and budget constraints impede its progress. Private investment in Thailand’s digital economy was only 4 per cent of GDP in 2019. Digital technology has been more widely applied in the services sector, including in online wholesale and retail trade, mobile phone and internet services, and financial services. Its utilisation in manufacturing and agriculture has been relatively limited.

หลากปัจจัยฉุดรั้งประเทศไทย…ไปไม่ถึงเศรษฐกิจดิจิทัล

รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ จัดทำบทความแสดงความเห็นใน Way Magazine วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 เกี่ยวกับประเด็นการเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจเพื่อเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของไทย โดยมีเนื้อหาบางส่วนของบทความดังนี้

“แม้ว่าประเทศไทยจะมีความก้าวหน้าในการพัฒนาดิจิทัลในช่วงที่ผ่านมา แต่ยังคงมีปัจจัยหลายด้านที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการผลักให้ประเทศก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล โดยเฉพาะสถานการณ์การลงทุนภาคเอกชนที่ยังต่ำ และกระจุกอยู่ในบางกิจกรรมและพื้นที่ การขาดทักษะแรงงานทางด้านดิจิทัล ความเชื่องช้าของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด และการใช้งบประมาณอย่างไม่คุ้มค่า”

Economic Impacts of Thailand Joining the CPTPP: Analysis Using IDE-GSM

Prof. Kazunobu Hayakawa and Prof. Satoru Kumagai, which are partner in RCEP project with ICRC, have been published article about Economic Impacts of Thailand Joining the CPTPP.

Highlights of This Article

  • We simulated the economic impacts of Thailand joining the CPTPP that includes either or both China and Taiwan.
  • GDP in Thailand in 2030 is expected to increase by 0.20% when both China and Taiwan are included in the CPTPP.
  • The largest impacts will be felt by the automotive industry, followed by the electrical, and electronics industries.
  • Samut Sakhon and Samut Prakarn will enjoy relatively larger benefits.

เมื่อจีน-ไต้หวัน ขอเข้าร่วมสมาชิก CPTPP แล้วไทยจะได้อะไร

รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ จัดทำบทความแสดงความเห็นใน Way Magazine วันที่ 20 ตุลาคม 2564 เกี่ยวกับประเด็น CPTPP หรือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก โดยมีเนื้อหาบางส่วนของบทความ ดังนี้

“หากมองไปข้างหน้า คงเป็นเรื่องยากสำหรับประเทศรายได้ปานกลางอย่างไทยที่จะหาข้อสรุปได้ถูกใจทุกฝ่ายในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ วันนี้น่าจะถึงเวลาที่รัฐควรจะมีท่าทีที่ชัดเจนในเรื่อง CPTPP ว่าเราจะทำอย่างไร ระหว่างการเดินหน้าแสดงความจำนงก็ดี หรือการเลือกที่จะไม่เป็นส่วนหนึ่งของ CPTPP ไม่ว่าเลือกทางใด ย่อมมีกลุ่มคนที่ได้และกลุ่มคนที่เสีย”

สิทธิประโยชน์จาก FTA กับตัวเลขลวงตาทางเศรษฐกิจ

รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ จัดทำบทความแสดงความเห็นใน Way Magazine วันที่ 9 กรกฏาคม 2564 เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีของไทย โดยมีเนื้อหาบางส่วนของบทความระบุว่า

“ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ถูกมองข้าม คือ การส่งออกที่ไทยส่งไปยังประเทศที่ไทยมีเอฟทีเอด้วย มีทั้งการขอใช้สิทธิเอฟทีเอ และที่ไม่ขอใช้สิทธิเอฟทีเอ เช่นเดียวกันกับการนำเข้า หากเราเอามูลค่าการใช้สิทธิเทียบกับมูลค่าการค้าจริงที่เกิดขึ้น สัดส่วนดังกล่าวจะสะท้อนถึงอัตราการใช้ประโยชน์ของเอฟทีเอที่ลงนาม ถ้าอัตราการใช้ประโยชน์มีค่าสูง นั่นหมายถึง การส่งออกส่วนใหญ่เป็นการส่งออกที่ขอใช้สิทธิเอฟทีเอ ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์เอฟทีเอที่ลงนามจริงๆ และแสดงให้เห็นความสำคัญของเอฟทีเอที่มีต่อการกระตุ้นการส่งออก”

ยานยนต์ไฟฟ้าไทย ZEV 100% ในปี 2035 “เป้าหมายยังคลุมเครือ”

รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ จัดทำบทความแสดงความเห็นใน Way Magazine วันที่ 4 พฤษภาคม 2564 เกี่ยวกับเป้าหมายยานยนต์ไฟฟ้าไทย (Zero Emission Vehicle) ZEV 100% ในปี 2035 ที่ยังคลุมเครือ โดยมีเนื้อหาบางส่วนของบทความระบุว่า

“แม้สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนในผลการประชุม คือ Zero Emission Vehicle หรือ ZEV 100% จะรวมถึงรถ plug-in hybrid ด้วยหรือไม่ ครอบคลุมรถทุกคันบนถนน หรือรถจดทะเบียนรถใหม่หรือเปล่า แต่การส่งสัญญาณก็เช่นนี้เพื่อบอกให้ทุกคนทราบว่าไทยเอาแน่กับยานยนต์ไฟฟ้า โดยหวังว่าสัญญาณดังกล่าวจะดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนและใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในกรณียานยนต์เครื่องสันดาป”

ไทยต้องเตรียมรับมือนโยบาย “โจ ไบเดน” อย่างไร?

การสัมภาษณ์ รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ หัวหน้า The International Competitiveness Research Cluster (ICRC)​ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 14 .10 – 15.00 น.

Thailand’s slow economic recovery

Author: Juthathip Jongwanich, Thammasat University

Thailand’s economic performance in the third quarter of 2020 showed promising signs of recovery amid the ongoing COVID-19 pandemic. The contraction in GDP fell to 6.4 per cent year-on-year, down from 12 per cent in the second quarter. Signs of recovery in key industries such as electronics and appliances, the automotive sector and plastics are bright spots….

ผลกระทบ COVID-19 ต่ออุตสาหกรรมไทย: บาดแผลจากระลอกเก่า กราฟแนวดิ่ง เจ็บหนัก ฟื้นช้า ล้มทั้งยืน

ข่าวจากงานสัมมนา “ผลกระทบ COVID-19 ต่ออุตสาหกรรมไทย” ที่มา: Way Magazine

ทีมวิจัยทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 จนถึงช่วงกลางเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ทั้งข้อมูลที่เป็นทุติยภูมิ ข้อมูลรายผู้ประกอบการ ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศทั่วโลก สำรวจโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire Survey) กว่า 200 โรงงาน รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการอีกกว่า 70 โรงงาน นอกจากภาพรวมผลกระทบและมาตรการของรัฐต่อผู้ประกอบการโดยเปรียบเทียบกับมาตรการเพื่อนบ้านแล้ว ยังมีการนำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ลงลึกในอุตสาหกรรมสำคัญ 5 ภาคส่วน ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม และอุตสาหกรรมโรงแรม…

สกสว. เผยโควิด-19 กระทบอุตสาหกรรมอาหารฟื้นตัวช้า ด้านนักวิจัยเสนอรัฐใช้เทคโนฯ พัฒนาไทย “ศูนย์กลางผลิตอาหารเพื่ออนาคต

ข่าวจากงานสัมมนา “ผลกระทบ COVID-19 ต่ออุตสาหกรรมไทย” ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

 รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ นักวิจัยโครงการ“การเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมหลังวิกฤต COVID-19” สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต COVID-19 แต่น้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยเปรียบเทียบ แม้ผลกระทบในแต่ละภาคส่วนย่อยอาจแตกต่างกันก็ตาม ผลการวิเคราะห์ผู้ประกอบการเปราะบางสูงและเปราะบางคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 68 ของผู้ประกอบการทั้งหมดในอุตสาหกรรมอาหาร มากกว่าร้อยละ 70 เป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพทั้งในแง่ของความสามารถในการเสียภาษีและการทำกำไรที่ยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยกำไรของอุตสาหกรรม…

สกสว.เผยสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. และ รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ โดย ผู้จัดการออนไลน์

รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ นักวิจัยโครงการการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรมหลังวิกฤต COVID-19 เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 อย่างรุนแรง โดยเฉพาะในช่วงการใช้มาตรการ lockdown ภายในประเทศ ความต้องการที่ชะลอตัวทั้งจากตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออกลดลงอย่างมาก เรื่องดังกล่าวซ้ำเติมปัญหากำลังการผลิตส่วนเกินที่มีอยู่ก่อนหน้าผู้ประกอบการจำนวนมากจึงปรับตัวด้วยการลดกำลังผลิต การลดชั่วโมงทำงาน และปลดคนงานชั่วคราว ความรุนแรงของวิกฤตโควิด-19 ในระยะแรกทำให้ผู้ประกอบการหลายรายคาดว่ายอดการผลิตจะลดลงเหลือเพียง 0.5-0.7 ล้านคัน และทำให้ตัดสินใจปลดแรงงานประจำที่เป็นแรงงานฝีมือ และจ่ายค่าชดเชยการเลิกจ้าง…

นักวิชาการ ชี้รัฐบาลไทยอัดฉีดฟื้นศก.ยุคโควิดน้อยกว่าหลายประเทศ

รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ โดย หนังสือพิมพ์แนวหน้า

รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานสัมมนาหัวข้อ “ผลกระทบของ COVID-19 ต่ออุตสาหกรรมไทย” ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2563 ว่า มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงที่ใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมการระบาดของโรค รัฐบาลไทยดำเนินการนั้นยังน้อยกว่าอีกหลายประเทศอยู่มาก ซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้า…

ผลของการตัด GSP จากสหรัฐกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยแค่ไหน

รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ ร่วมกับ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร

‘โจ ไบเดน’ นั่งผู้นำสหรัฐ ประเทศไทย ได้/เสีย อะไรบ้าง?

สัมภาษณ์ รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ โดย รายการลับคมธุรกิจ

ไทยมึน! มะกันตัด ‘จีเอสพี’ 2 ครั้ง ซ้ำเติมเศรษฐกิจดิ่ง! (ตอนที่ 1)

สัมภาษณ์ รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ และ รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ โดย หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ และ รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ จากกลุ่มวิจัยความสามารถในการแข่งขัน คณะเศรษฐ ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ขนาดผลกระทบจากกรณีดังกล่าวที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อการส่งออกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) อาจจะไม่มาก แต่เรื่องนี้เป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ที่เลวร้ายจากวิกฤติไวรัสโควิด-19 ที่มีอยู่เดิม…

หวั่นไทยถูกตัด ‘จีเอสพี’ อีก! ปัญหาสมดุล 2 ขั้ว จีน-อเมริกา (ตอนที่ 2)

สัมภาษณ์ รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ และ รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ โดย หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ และรศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ กลุ่มวิจัยความสามารถในการแข่งขัน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า จากการประมาณการณ์ขนาดความเสียหายของการตัด GSP ครั้งนี้จึงอยู่ระหว่าง 71.8-107 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ 0.03-0.05 ของการส่งออกรวม) ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริโภคมีความอ่อนไหวต่อราคามากน้อยเพียงใด ซึ่งเราเชื่อว่าภายใต้วิกฤติโควิด-19 ที่เศรษฐกิจโลกกำลังสู่สภาวะถดถอยอย่างรุนแรง ผู้บริโภคน่าจะมีแนวโน้มอ่อนไหวต่อราคามากขึ้น และทำให้ผลกระทบใกล้ค่าประมาณการณ์ที่สูง…

ชงรัฐต่อมาตรการอุ้มหนี้ ลดภาระต่ออายุเอสเอ็มอี

สัมภาษณ์ รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ โดย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ภาวะวิกฤติโควิด-19 เอสเอ็มอีกลุ่มเปราะบางเสี่ยงมากที่สุด ซึ่งจากการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่ามีผู้ประกอบการ 49,830 ราย จัดว่าเป็นกลุ่มเปราะบางที่สุ่มเสี่ยงเผชิญปัญหาสภาพคล่องและปิดกิจการ…

แผนฟื้นเศรษฐกิจอาเซียนทิ้งห่างมาตรการไทย

สัมภาษณ์ รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ โดย หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า มาตรการความช่วยเหลือของไทยมีความแตกต่างจากประเทศอื่นในภูมิภาค 4 ประการหลัก ได้แก่ ประการแรก มาตรการความช่วยเหลือเพื่อลดต้นทุนของผู้ประกอบการโดยตรงของไทย โดยเฉพาะด้านภาษีมีน้อยกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค การช่วยเหลือด้านภาษีส่วนใหญ่เป็นเพียงการเลื่อนการชำระภาษี 3 เดือน ลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายและการพยายามเร่งคืนภาษีให้กับผู้ประกอบการ…

สื่อเยอรมันสงสัย ‘ภูเก็ต’จะอึดได้อีกกี่น้ำ ตราบที่ยังไร้นักท่องเที่ยวต่างชาติ

สัมภาษณ์ รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ โดย หนังสือพิมพ์แนวหน้า

รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า รัฐบาลต้องเตรียมแผนรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ อย่างน้อยก็ให้ไปในบางพื้นที่ที่สามารถควบคุมโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ หาไม่แล้วการท่องเที่ยวไทยคงอยู่ไม่รอดพ้นสิ้นปี 2563 แน่นอน…

นักวิชาการหวั่น ‘คนละครึ่ง’ ไม่ถึงมือรากหญ้า

สัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ โดย Nation Online

รวมแผน กอบกู้เศรษฐกิจ เฮือกสุดท้าย..สู้ต่อหรือยอมตาย

สัมภาษณ์ รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ โดย Bangkok Biz

รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า รัฐบาลควรจะเร่งดำเนินการใน 3 เรื่อง ได้แก่ 1. มีมาตรการจัดหารายได้เพิ่ม 2.การสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล 3.รัฐบาลจะต้องเร่งอำนวยความสะดวกให้ภาคธุรกิจ

การปรับตัวของผู้ประกอบการท่ามกลาง COVID-19: บทวิเคราะห์ข้อมูล Survey

โดย รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ และ อาจารย์เพ็ชรธรินทร์ วงศ์เจริญ

ผลกระทบจาก COVID-19 ต่อภาคการผลิตไทย: นัยต่อความเพียงพอและเหมาะสมของมาตรการรัฐ

โดย รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์, ศรสวรรค์ ใส่ละม้าย และ ปริญญา มิ่งสกุล

จี้รัฐเร่งปรับ 4 เรื่องใหญ่ ปลุกเศรษฐกิจไทยฟื้นหลังโควิด

โดย รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์

มาตรการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19: เพียงพอหรือยัง?

โดย รศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ และ รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์​
กลุ่มคลัสเตอร์วิจัยความสามารถในการแข่งขัน
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์​

Thailand 4.0 and its challenges

Archanun Kohpaiboon

กางข้อดี-ข้อเสีย หากไทยเข้าร่วมความตกลง CPTPP

สัมภาษณ์พิเศษ รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์ โดย THE STANDARD Daily 

CPTPP

โดย รศ.ดร.อาชนัน เกาะไพบูลย์

ผลกระทบของการตัด GSP ของสหรัฐต่อไทย

โดย รศ.ดร. อาชนัน เกาะไพบูลย์  และ รศ.ดร. จุฑาทิพย์ จงวนิชย์