อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG

ผศ.ดร.พนิต วัฒนกูล เข้าร่วมนำเสนอผลงานในงานสัมมนาทางวิชาการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2565 (Econ Symposium 2022) หัวข้องาน “ความท้าทายของการยกระดับ S-Curve ในยุค Next Normal” เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565

อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์เป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (S curve) และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (new S curve) ในอดีตที่ผ่านมา ไทยมีศักยภาพในการผลิตวัสดุทางการแพทย์ (single-use medical device) เพื่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออกไปยังต่างประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ดี ไทยยังไม่มีศักยภาพในการผลิตครุภัณฑ์ทางการแพทย์ (durable medical device) ที่ต้องอาศัยความรู้เชิงเทคนิคและวิทยาศาสตร์ขั้นสูง จึงอาศัยการนำเข้าครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยเพื่อรักษาและดูแลผู้ป่วยภายในประเทศ

การขาดแคลนเครื่องมือแพทย์ในช่วงแรกของการแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้เกิดการตระหนักรู้เรื่องความมั่นคงทางด้านเครื่องมือแพทย์ (medical device security) และเกิดการตั้งคำถามต่อการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ในปัจจุบัน การพึ่งพิงการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการการบริการสาธารณสุข เมื่อทั่วโลกเกิดภาวะขาดแคลนเครื่องมือแพทย์ในช่วงเวลาเดียวกัน บทความวิจัยชิ้นนี้จึงศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการขาดแคลนเครื่องมือแพทย์ของไทย

เรื่องนี้ถูกเขียนใน Uncategorized และติดป้ายกำกับ , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *